วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2560

Microsoft ระบุ การโจมตีทางไซเบอร์สูงขึ้นมากในช่วงหลัง เตรียมลงทุนด้านความปลอดภัยเพิ่มเติม

Bharat Shah รองประธานบริษัทด้านความปลอดภัยได้กล่าวกับสำนักข่าว Reuters ในงาน BlueHat ซึ่งเป็นงานสัมมนาด้านความปลอดภัยไซเบอร์ โดยยืนยันว่าทาง ​Microsoft จะลงทุนอีกเป็นจำนวนกว่า 1 พันล้านเหรียญในการวิจัยและพัฒนาด้านความปลอดภัยไซเบอร์ในปีหน้า
จากข้อมูลของ Microsoft กล่าวว่า การโจมตีทางไซเบอร์นั้น เมื่อ 2-3 ปีที่แล้วมีจำนวนครั้งของความพยายามโจมตี 20,000 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่ในตอนนี้สูงถึง 600,000-700,000 ครั้งต่อสัปดาห์แล้ว ซึ่ง Shah กล่าวว่า ยิ่งคนใช้คลาวด์เยอะขึ้นเท่าไร ยอดเงินที่จะใช้จ่ายในการวิจัยความปลอดภัยก็จะสูงขึ้นด้วย
นอกจากการลงทุนด้านความปลอดภัยภายในบริษัทแล้ว Microsoft ยังได้เข้าซื้อบริษัทด้านความปลอดภัยอีกหลายบริษัท เช่น บริษัทสตาร์ทอัพด้านความปลอดภัยในองค์กร Aorato, บริษัทความปลอดภัยคลาวด์ Adallom และ Security Islands ซึ่งเทคโนโลยีจากบริษัทเหล่านี้ถูกนำเข้าไปรวมในะบบ Azure Information Protection แล้ว
ที่มา - Reuters

Posted: 26 Jan 2017 06:03 AM PST
ในอัปเดตล่าสุดของ Xbox One ระบบ Snap Mode ได้ถูกลบออกไปจากเครื่องแล้ว ตามที่ Microsoft เคยกล่าวไว้เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมาว่า กำลังพยายามหาทางนำระบบนี้ออก และจะนำระบบใหม่เข้ามาแทนที่ อัปเดตเวอร์ชันนี้จะเปิดใช้งานในช่วงฤดูใบไม้ผลิ
Mike Ybarra จาก Xbox ได้อธิบายถึงสาเหตุที่นำระบบดังกล่าวออกผ่านทางทวิตเตอร์ว่า "เป็นการทำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้าน multitasking, ลดการใช้งานหน่วยความจำ, เพิ่มความเร็วโดยรวม และประหยัด resource ไว้ใช้งานกับสิ่งที่ใหญ่กว่า"
แต่ทั้งนี้ทาง Microsoft ก็ยังไม่เปิดเผยรายละเอียดว่า "สิ่งที่ใหญ่กว่า" หรือระบบที่มาแทน Snap Mode เป็นอย่างไรบ้าง
สำหรับใครที่ไม่คุ้นเคย Snap Mode คือระบบของ Xbox One ที่ทำให้สามารถใช้แอปอื่นในระหว่างที่เล่นเกมได้ เช่นเปิดดูบทสรุปผ่านเว็บหรือดูยูทูบระหว่างเล่น เป็นต้น ระบบนี้ทำงานโดยแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งของหน้าจอในแนวตั้งออกมาประมาณ 1 ส่วน 4 ไว้สำหรับใช้งานแอปต่าง ๆ และส่วนที่เหลืออยู่ไว้สำหรับเล่นเกม

ที่มา – GameSpot
Posted: 26 Jan 2017 02:22 AM PST
ก่อนหน้านี้ ไมโครซอฟท์เคยประกาศว่า Windows 10 จะมี Game Mode ล่าสุดมีรายละเอียดเพิ่มเติมออกมาแล้ว
หลักการทำงาน
  • Game Mode จะปรับแต่งประสิทธิภาพของเครื่องให้เราเล่นเกมได้ดีขึ้น หลักการคืองานของระบบ (system task) ต่างๆ จะหยุดทำงานเพื่อไม่ให้มาชิงทรัพยากรของเครื่องระหว่างเล่นเกม สถานการณ์เฟรมเรตตกลงน่าจะลดน้อยลงไป
  • Game Mode ยังจะป้องกันไม่ให้โพรเซสอื่นๆ ของระบบที่ไม่ใช่เกม มาแย่งใช้งานเธร็ดของซีพียูด้วย (หลักการนี้นำมาจากระบบปฏิบัติการของ Xbox One ที่ให้ความสำคัญกับเกมมากกว่าโพรเซสอื่นๆ)
  • ระหว่างเปิด Game Mode ระบบส่วนใหญ่ของ Windows 10 จะยังทำงานตามปกติ เช่น notification หรือ Cortana

เกมและฮาร์ดแวร์ที่รองรับ
  • เกมที่รองรับมีทั้งเกมแบบ Win32 ทั่วไป และเกมแบบ UWP ที่ดาวน์โหลดจาก Windows Store แต่เกมแบบ UWP จะได้ประโยชน์จาก Game Mode มากกว่า
  • ไมโครซอฟท์กำลังทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์คือ Intel, AMD, NVIDIA เพื่อการันตีว่า Game Mode จะให้ผลลัพธ์ออกมาดีบนฮาร์ดแวร์ยอดนิยม
การใช้งาน Game Mode
  • การเรียก Game Mode จะต้องกด Win+G เพื่อเรียก Game Bar ขึ้นมาก่อน แล้วเลือกการทำงานใน Game Mode
  • Windows 10 จะจดจำให้เราอัตโนมัติ ว่าเกมไหนจะเรียกใช้ Game Mode บ้าง และเปิดให้เราเสมอเมื่อรันเกมนั้น (เราเลือกปิดเองได้เสมอ)
  • เกมที่ไมโครซอฟท์ทดสอบแล้วว่าใช้กับ Game Mode ได้ เช่น เกมของไมโครซอฟท์เองอย่าง Halo Wars 2, Forza Horizon 3 (เป็นแอพ UWP ทั้งคู่) จะเปิด Game Mode มาให้อัตโนมัติ
  • เมื่อเราย่อหน้าต่างเกมหรือสั่งให้ทำงานเบื้องหลัง Game Mode จะปิดตัวเองอัตโนมัติ
  • Game Mode จะเริ่มเปิดให้ทดสอบใน Windows Insider Build 15019 ที่จะออกในเร็วๆ นี้
ของใหม่อีกอย่างใน Windows 10 คือใน Settings จะเพิ่มหมวด Gaming เข้ามาแล้ว

ที่มา - Xbox, Windows Central
Posted: 25 Jan 2017 06:23 PM PST
Privacy International ออกรายงาน "Who's That Knocking At My Door?" รายงานถึงความพยายามในการบล็อคเว็บและการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของรัฐบาลไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ในรายงานระบุถึงประเด็นสำคัญคือตอนนี้ไมโครซอฟท์เป็นผู้ผลิตซอฟต์แวร์หลักรายเดียวที่ยอมรับ root CA ของรัฐบาลไทย
Thailand National Root Certification Authority - G1 ดูแลโดยผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (NRCA) เป็นหน่วยงานภายใต้สํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ./ETDA) หน่วยงานที่เคยระบุถึงความจำเป็นในการดักฟังว่าเป็นการป้องกันการแฮกล่วงหน้า ด้วยพ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงทางไซเบอร์
การรับรอง root CA ในระบบทำให้ผู้ให้บริการ CA สามารถสร้างใบรับรองสำหรับเว็บใดๆ หาก CA มีมาตรฐานดำเนินการที่หละหลวมก็สามารถออกใบรับรองให้กับเว็บสำคัญๆ เช่น กูเกิล, เฟซบุ๊ก, หรือเว็บใดๆ ก็ได้ในโลก โดยผู้ที่ได้ใบรับรองเหล่านั้นไปอาจนำไปใช้ดักฟังการเชื่อมต่อโดยที่ผู้ใช้ไม่รู้ตัว
ทาง Privacy International สอบถามไปยังไมโครซอฟท์ ขอให้ชี้แจงกระบวนการตัดสินใจยอมรับ root CA ของรัฐบาลไทยครั้งนี้ ไมโครซอฟท์ระบุว่าบริษัทไม่ได้เปิดเผยกระบวนการตัดสินใจภายใน แต่เงื่อนไขโดยรวมนั้นเปิดเผยอยู่ในเว็บไซต์บริษัท ขณะที่ทาง The Verge สอบถามไปยังไมโครซอฟท์อีกทางและได้รับคำตอบเพิ่มเติมคือ NRCA นั้นผ่านการตรวจสอบว่ากระบวนการได้มาตรฐาน และชี้ว่าความกังวลว่า root CA นี้จะถูกนำมาใช้ดักฟังของ Privacy International ไม่ตรงกับกระบวนการทำงานที่ได้รับการตรวจสอบแล้ว
เอกสารตรวจสอบการทำงานของ NRCA ฉบับล่าสุด (1, 2) ตรวจสอบโดย BDO Malaysia ยืนยันว่าทางสพธอ. ดำเนินการได้มาตรฐาน WebTrust
ที่มา - Privacy International, The Verge
upic.me

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น