วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ไมโครซอฟท์กำหนดหลักการเปิดกว้างสโตร์บน Windows และ Xbox ไม่กีดกันนักพัฒนา

ไมโครซอฟท์กำหนดหลักการเปิดกว้างสโตร์บน Windows และ Xbox ไม่กีดกันนักพัฒนา


ไมโครซอฟท์กำหนดหลักการเปิดกว้างสโตร์บน Windows และ Xbox ไม่กีดกันนักพัฒนา

Posted: 10 Feb 2022 01:59 AM PST

เมื่อปี 2020 ไมโครซอฟท์เคยออกมาประกาศแนวทางเปิดกว้างของ Microsoft Store จำนวน 10 ข้อ

ล่าสุดในปี 2022 ไมโครซอฟท์ออกมาประกาศหลักการ Open App Store Principles เพิ่มจำนวนข้อเป็น 11 ข้อ โดยระบุว่าประกาศแนวทางนี้เพื่อแสดงจุดยืนว่าหลังซื้อ Activision-Blizzard แล้วจะยังเปิดกว้างต่อไป

  1. นักพัฒนาทุกรายมีสิทธิใช้งานสโตร์ ตราบเท่าที่ผ่านมาตรฐานด้านคุณภาพและความปลอดภัย ซึ่งเป็นมาตรฐานที่สมเหตุสมผลและโปร่งใส (reasonable and transparent standards for quality and safety)
  2. ไมโครซอฟท์จะคุ้มครองลูกค้าจากการใช้งานสโตร์ โดยการันตีว่านักพัฒนาผ่านมาตรฐานความปลอดภัย
  3. ไมโครซอฟท์จะเคารพความเป็นส่วนตัวของลูกค้า ให้ลูกค้าสามารถจัดการข้อมูลของตัวเองได้
  4. ไมโครซอฟท์จะปฏิบัติกับแอพของตัวเอง ด้วยมาตรฐานเดียวกันกับแอพของคู่แข่ง
  5. ไมโครซอฟท์จะไม่ใช้ประโยชน์จากข้อมูลบนสโตร์ เพื่อแข่งขันกับแอพของนักพัฒนารายอื่น
  6. ไมโครซอฟท์จะปฏิบัติกับแอพบนโสตร์อย่างเท่าเทียมกัน ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่จัดอันดับแอพของไมโครซอฟท์ขึ้นก่อนคู่แข่งโดยไม่สมเหตุสมผล
  7. ไมโครซอฟท์จะโปร่งใสในเรื่องเกณฑ์การโปรโมทและการตลาด ใช้เกณฑ์นี้ทั่วถึงเท่าเทียมกัน
  8. ไมโครซอฟท์จะไม่บังคับนักพัฒนาใช้ระบบจ่ายเงินของบริษัทเอง เพื่อจ่าย in-app payment
  9. ไมโครซอฟท์จะไม่บังคับนักพัฒนาแอพ ว่าต้องเงื่อนไขทางธุรกิจที่ดีกว่าสโตร์ยี่ห้ออื่น
  10. ไมโครซอฟท์จะไม่กลั่นแกล้งนักพัฒนาที่เลือกใช้ระบบจ่ายเงินของบริษัทอืน หรือมีข้อตกลงธุรกิจกับสโตร์ยี่ห้ออื่น
  11. ไมโครซอฟท์จะไม่ห้ามนักพัฒนาติดต่อกับลูกค้าโดยตรงผ่านช่องทางในแอพ เพื่อนำเสนอบริการหรือราคาที่ต่างไป

นอกจากหลักการ 11 ข้อนี้ ยังมีสัญญาที่ไมโครซอฟท์บอกว่าจะทำอีก 3 ข้อคือ

  • จะเปิดให้นักพัฒนา Windows เลือกได้ว่าจะเผยแพร่แอพผ่านสโตร์ไมโครซอฟท์, สโตร์อื่น หรือจะ sideload ติดตั้งไฟล์เองก็ได้
  • จะเปิดให้นักพัฒนาเข้าถึง API และการเชื่อมต่อต่างๆ ที่แอพของไมโครซอฟท์ใช้งาน (พูดง่ายๆ คือจะไม่มี API ลับที่ไมโครซอฟท์ใช้ได้คนเดียว)
  • จะเปิดให้ผู้ใช้ติดตั้งสโตร์ทางเลือก และติดตั้งแอพทางเลือกพร้อมเปลี่ยนค่าดีฟอลต์ของ Windows ในหมวดที่เหมาะสม

No Description

หลักการ 11 ข้อนี้มีผลบังคับใช้กับ Microsoft Store บน Windows และร้านขายเกมเวอร์ชันหน้า (ไม่รวมใช้กับ Xbox Store เวอร์ชันปัจจุบัน)

ไมโครซอฟท์อธิบายว่าธรรมชาติของสโตร์บนพีซี-มือถือ กับสโตร์บนคอนโซลมีความแตกต่างกัน โดยผู้ขายคอนโซลใช้วิธีขายเครื่องขาดทุนเพื่อมาทำกำไรจากการขายเกมแทน ดังนั้น ไมโครซอฟท์จะนำหลักการข้อ 1-7 มาใช้กับ Xbox Store ก่อน และจะค่อยๆ ปรับให้ครบ 11 ข้อในอนาคตต่อไป

ที่มา - Microsoft

วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

Flutter 2.10 ออกแล้ว รองรับการเขียนแอพบน Windows อย่างเป็นทางการ

Flutter 2.10 ออกแล้ว รองรับการเขียนแอพบน Windows อย่างเป็นทางการ


Flutter 2.10 ออกแล้ว รองรับการเขียนแอพบน Windows อย่างเป็นทางการ

Posted: 03 Feb 2022 06:00 PM PST

Flutter ออกเวอร์ชัน 2.10 ของใหม่ที่สำคัญคือ Flutter for Windows เข้าสถานะเสถียรอย่างเป็นทางการ หลังจากเริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี 2020

โครงการ Flutter บอกว่าตั้งใจรองรับการทำงานหลายแพลตฟอร์มอยู่แล้ว (ปัจจุบัน มี 6 แพลตฟอร์ม คือ Android, iOS, Web, Windows, macOS, Linux) แต่การใช้งาน Flutter บนเดสก์ท็อปมีความต่างจากบนมือถือ ทั้งในแง่ขนาดของหน้าจอและวิธีป้อนข้อมูล ทำให้ทีม Flutter ต้องสร้างเลเยอร์ที่เป็น C++ เพิ่มเข้ามา (สีเขียวในภาพ) เพื่อให้ทำงานกับ API ต่างๆ ของวินโดวส์ได้อย่างสมบูรณ์

Flutter for Windows มีระบบปลั๊กอินที่รองรับฟีเจอร์ต่างๆ ของวินโดวส์ เช่น camera, file_picker รวมถึงรองรับฟีเจอร์ใหม่ๆ อย่างระบบดีไซน์ Fluent UI และระบบแพ็กเกจแอพ MSIX มาให้พร้อมสรรพ แถมยังได้ทีมจากไมโครซอฟท์เข้ามาช่วยพัฒนา ตัวอย่างคือแพ็กเกจ fluentui_system_icons เป็นชุดไอคอนสำหรับ Fluent UI และช่วยเชื่อมต่อกับ Windows Narrator ตัวอ่านหน้าจอเป็นเสียงของวินโดวส์ด้วย

No Description

No Description

ของใหม่อย่างอื่นใน Flutter 2.10 คือการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการวาดหน้าจออีกหลายจุด, ฟีเจอร์ช่วยลดการใช้แรมบน iOS 64-bit, เพิ่มฟีเจอร์รองรับระบบธีมสีแบบใหม่ของ Android 12 Material You ที่เลือกธีมสีจากค่าสีของพื้นหลังได้

Flutter บอกว่าการรองรับเดสก์ท็อปแพลตฟอร์มอื่นๆ คือ macOS และ Linux จะเข้าสถานะเสถียรตามมาในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

ที่มา - Flutter 2.10, Flutter for Windows

วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ไมโครซอฟท์เผย Windows Update จะเริ่มส่งไฟล์อัพเดตให้ ต้องต่อเน็ตเชื่อมเซิร์ฟเวอร์ 2 ชม. ขึ้นไป

ไมโครซอฟท์เผย Windows Update จะเริ่มส่งไฟล์อัพเดตให้ ต้องต่อเน็ตเชื่อมเซิร์ฟเวอร์ 2 ชม. ขึ้นไป


ไมโครซอฟท์เผย Windows Update จะเริ่มส่งไฟล์อัพเดตให้ ต้องต่อเน็ตเชื่อมเซิร์ฟเวอร์ 2 ชม. ขึ้นไป

Posted: 01 Feb 2022 01:23 AM PST

ไมโครซอฟท์เผยข้อมูลผ่าน Windows IT Pro Blog ถึงการทำงานของ Windows Update ที่เราไม่เคยรู้กันมาก่อนว่า ไมโครซอฟท์จะเริ่มปล่อยไฟล์อัพเดตให้กับเครื่องพีซีที่เชื่อมต่อมายังเซิร์ฟเวอร์ Windows Update นาน 2 ชั่วโมงขึ้นไปเท่านั้น

เหตุผลมาจากการศึกษาของไมโครซอฟท์เองที่ทดสอบว่า ระยะเวลาเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์มีผลต่ออัตราความสำเร็จในการติดตั้งอัพเดตหรือไม่ ซึ่งไมโครซอฟท์พบว่าตัวเลขที่เหมาะสมคือ 2 ชั่วโมงหลังไคลเอนต์ติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์ครั้งแรก (มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Update Connectivity) และต้องรอหลังอัพเดตนั้นถูกปล่อยอย่างเป็นทางการ นับเป็นเวลาเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์รวมกันนาน 6 ชั่วโมงขึ้นไป

สถิติของไมโครซอฟท์เองบอกว่าพีซีที่ไม่ได้อัพเดตนานๆ มักไม่ผ่านเกณฑ์ข้อนี้ ผลคือแพตช์ที่ติดตั้งเก่า และมักทำให้อัพเดตล้มเหลว หรืออธิบายง่ายๆ คือเครื่องที่มีค่า Update Connectivity ต่ำแปลว่าไม่ค่อยได้อัพเดตแพตช์ล่าสุดเท่าไรนัก

ไมโครซอฟท์แนะนำให้แอดมินองค์กรแจ้งให้ผู้ใช้พีซีทราบว่าควรเปิดเครื่องและต่อเน็ตทิ้งไว้บ่อยๆ จะเป็นผลดีมากกว่าปิดเครื่องเมื่อไม่ใช้งาน โดยองค์กรสามารถดูสถิติ Update Connectivity ได้จาก Microsoft Intune ซึ่งจะระบุตัวเลขนี้ของพีซีแต่ละเครื่องในองค์กร

No Description

ที่มา - Microsoft